วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
บันทึกอนุทินวันที่  10  เดือนกุภาพันธ์  2558
กลุ่มเรียน  105 (วันอังคาร)  เวลา  08.30 – 12.20  น.




สรุปองค์ความรู้


ในการเรียนการสอนในวันนี้  ก่อนจะเริ่มการเรียนอาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปมือที่ไม่ถนัดมากที่สุดโดยใส่ถุงมือที่ไม่ถนัดไว้ และหลังจากนั้นก็เข้าเนื้อหาที่เรียนเรื่องการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ


กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน


มือที่ไม่ถนัด


ทักษะของครูและทัศนคติ
มองเห็นการปรับความรู้สึกต่อทัศนคติตนเอง  ควรมองเด็กเหมือนกันทั้งหมด เป็นครูต้องมองเด็กและรู้จักเด็กแต่ละคนให้ดีทุกคน

การเข้าใจภาวะปกติ
เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง ครูต้องเรียนรู้มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ มองเด็กให้เป็น เด็กและจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน ทั้งชื่อจริง – ชื่อเล่น

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย พูดในด้านที่ดีของเด็ก  ไม่ควรพูดอาการของเด็กในแง่ลบ  ปรึกษาหารือจากครูด้วยกันได้ ชมก่อนติชม

ความพร้อมของเด็ก
วุฒิภาวะ                เด็กมีวุฒิภาวะไม่ต่างกัน
แรงจูงใจ                แรงจูงใจของเด็กย่อมไม่เหมือนกัน
โอกาส                   เด็กแต่ละคนมีโอกาสที่เรียนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของเด็ก

การสอนโดยบังเอิญ
-  ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม //  เด็กถามหรือเด็กต้องการความช่วยเหลือ
-  ครูควรสอนในยามที่เด็กของความช่วยเหลือ
-  ครูต้องทำเป็นเรื่องที่สนุกสนาน
-  เด็กพร้อมที่จะเข้ามาหาครูในทุกเมื่อ
-  ครูไม่ควรรำคาญที่เด็กเข้ามาขอความช่วยเหลือ
-  สอนแบบไม่นานมากนัก

อุปกรณ์
-  สื่อไม่แบ่งแยกเพศ // จิ๊กซอร์  แป้งโด  ดินน้ำมัน
-  สื่อแบ่งแยกเพศ  //  ตุ๊กตา  หุ่นยนต์
-  จับคู่บัดดี้

ตารางประจำวัน
    เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ  กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้ เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ  การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมาก ๆ  คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู
-  การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-  ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การเปลี่ยนพฤตกรรมและการเรียนรู้              เด็กทุกคนสอนได้

เทคนิคการให้แรงเสริม  ( แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่ )
-  ตอบสนองด้วยวาจา  การชม
-  การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-  พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-  สัมผัสทางกาย  
-  ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การแนะนำหรือบอกบท 
-  ย่อยงาน
-  ลำดับความยากง่ายของงาน

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-  วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานเเต่ละขั้น
-  สอนจากง่ายไปยาก
-  ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น
-  ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
-  จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
** เฉพาะช่วงที่เด็กพฤติกรรม

ความต่อเนื่อง
พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้านสอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
-  การจับช้อน
-  การตัก
-  การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อจะเข้าปาก
-  การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้รดรดคาง
-  การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

การลดหรือหยุดเเรงเสริม
-  ครูจะงดเเรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-  ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-  เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-  เอาเด็กออกจากของเล่น

ความคงเส้นคงวา  คนเป็นครูต้องเสมอต้นเสมอปลาย (เป็นยังไงก็เป็นเเบบนั้น )




ประโยชน์ที่ได้รับ
-  สามารถนำความรู้การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติไปใช้ในอนาคตได้
-  ได้เรียนรู้โดนการสอนเด็กในอนาคตในมองเด็กว่าเป็นเด็ก
-  รู้จะการเสริมแรงให้แก่เด็กได้

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน และจดบันทึกส่วนที่สำคัญ ตั้งใจร้องเพลง  มีคุยบ้างงวนบ้างเป็นเวลา
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และตั้งใจร้องเพลง
ครูผู้สอน  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ร่าเริง  แจ่มใส  อธิบายในเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน และเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาให้ฟังอีกด้วย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น