วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบกลางภาค



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  24  เดือนกุภาพันธ์  2558
กลุ่มเรียน  105 (วันอังคาร)  เวลา  08.30 – 12.20  น.







เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นการสอบเก็บคะแนนกลางภาคในวันที่ 23 – 27  กุมภาพันธ์  2558








วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สุขสันต์วันเกิด

 

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  17  เดือนกุภาพันธ์  2558
กลุ่มเรียน  105 (วันอังคาร)  เวลา  08.30 – 12.20  น.




HAPPY  BIRTHDAY

เซอร์ไพรส์วันเกิดย้อนหลังให้อาจารย์เบียร์..














วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
บันทึกอนุทินวันที่  10  เดือนกุภาพันธ์  2558
กลุ่มเรียน  105 (วันอังคาร)  เวลา  08.30 – 12.20  น.




สรุปองค์ความรู้


ในการเรียนการสอนในวันนี้  ก่อนจะเริ่มการเรียนอาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปมือที่ไม่ถนัดมากที่สุดโดยใส่ถุงมือที่ไม่ถนัดไว้ และหลังจากนั้นก็เข้าเนื้อหาที่เรียนเรื่องการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ


กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน


มือที่ไม่ถนัด


ทักษะของครูและทัศนคติ
มองเห็นการปรับความรู้สึกต่อทัศนคติตนเอง  ควรมองเด็กเหมือนกันทั้งหมด เป็นครูต้องมองเด็กและรู้จักเด็กแต่ละคนให้ดีทุกคน

การเข้าใจภาวะปกติ
เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง ครูต้องเรียนรู้มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ มองเด็กให้เป็น เด็กและจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน ทั้งชื่อจริง – ชื่อเล่น

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย พูดในด้านที่ดีของเด็ก  ไม่ควรพูดอาการของเด็กในแง่ลบ  ปรึกษาหารือจากครูด้วยกันได้ ชมก่อนติชม

ความพร้อมของเด็ก
วุฒิภาวะ                เด็กมีวุฒิภาวะไม่ต่างกัน
แรงจูงใจ                แรงจูงใจของเด็กย่อมไม่เหมือนกัน
โอกาส                   เด็กแต่ละคนมีโอกาสที่เรียนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของเด็ก

การสอนโดยบังเอิญ
-  ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม //  เด็กถามหรือเด็กต้องการความช่วยเหลือ
-  ครูควรสอนในยามที่เด็กของความช่วยเหลือ
-  ครูต้องทำเป็นเรื่องที่สนุกสนาน
-  เด็กพร้อมที่จะเข้ามาหาครูในทุกเมื่อ
-  ครูไม่ควรรำคาญที่เด็กเข้ามาขอความช่วยเหลือ
-  สอนแบบไม่นานมากนัก

อุปกรณ์
-  สื่อไม่แบ่งแยกเพศ // จิ๊กซอร์  แป้งโด  ดินน้ำมัน
-  สื่อแบ่งแยกเพศ  //  ตุ๊กตา  หุ่นยนต์
-  จับคู่บัดดี้

ตารางประจำวัน
    เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ  กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้ เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ  การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมาก ๆ  คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู
-  การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-  ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การเปลี่ยนพฤตกรรมและการเรียนรู้              เด็กทุกคนสอนได้

เทคนิคการให้แรงเสริม  ( แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่ )
-  ตอบสนองด้วยวาจา  การชม
-  การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-  พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
-  สัมผัสทางกาย  
-  ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การแนะนำหรือบอกบท 
-  ย่อยงาน
-  ลำดับความยากง่ายของงาน

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-  วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานเเต่ละขั้น
-  สอนจากง่ายไปยาก
-  ทีละขั้นไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น
-  ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
-  จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
** เฉพาะช่วงที่เด็กพฤติกรรม

ความต่อเนื่อง
พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้านสอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
-  การจับช้อน
-  การตัก
-  การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อจะเข้าปาก
-  การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้รดรดคาง
-  การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก

การลดหรือหยุดเเรงเสริม
-  ครูจะงดเเรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-  ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-  เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
-  เอาเด็กออกจากของเล่น

ความคงเส้นคงวา  คนเป็นครูต้องเสมอต้นเสมอปลาย (เป็นยังไงก็เป็นเเบบนั้น )




ประโยชน์ที่ได้รับ
-  สามารถนำความรู้การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติไปใช้ในอนาคตได้
-  ได้เรียนรู้โดนการสอนเด็กในอนาคตในมองเด็กว่าเป็นเด็ก
-  รู้จะการเสริมแรงให้แก่เด็กได้

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน และจดบันทึกส่วนที่สำคัญ ตั้งใจร้องเพลง  มีคุยบ้างงวนบ้างเป็นเวลา
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และตั้งใจร้องเพลง
ครูผู้สอน  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ร่าเริง  แจ่มใส  อธิบายในเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน และเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาให้ฟังอีกด้วย







วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่  27  เดือนมกราคม  2558
กลุ่มเรียน  105 (วันอังคาร)  เวลา  08.30 – 12.20  น.



สรุปองค์ความรู้
ในการเรียนการสอนในวันนี้  ก่อนจะเริ่มการเรียนอาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปดอกทานตะวันตามแบบ  และหลังจากนั้นก็เข้าเนื้อหาที่เรียนเรื่องบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็กเพราะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา  ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ

ครูทำอะไรบ้าง
ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครูเพราะจะมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของเด็กว่าเด็กทำได้หรือไม่ได้

การตรวจสอบ
เด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้นบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้ และมีการประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้ พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
ให้รายละเอียดได้มาก
เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
บันทึกลงบัตรเล็กๆ
เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

                 การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ

ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมในวันนี้

เมื่อเห็นดอกทานตะวันดอกนี้  รู้สึกว่ามีความสดใส  เวลามองเหมือนรู้กระชุ่มกระชวย





การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน และจดบันทึกส่วนที่สำคัญ ตั้งใจร้องเพลง
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และตั้งใจร้องเพลง
ครูผู้สอน  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ร่าเริง  แจ่มใส  สอนในเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน